เครดิตจาก : บูชาครูอาจารย์ ธ.ธรรมรักษ์ การสร้างบุญด้วยการเจริญภาวนายิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นแก่นแท้และได้บุญสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก เพราะว่าการเจริญภาวนาเป็นการเน้นระงับการทำความชั่วทาง “ใจ” คือเป็นการซักฟอกจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ พระพุทธองค์ตรัสถึงมรรค 8 ข้อที่สำคัญที่สุดก็คือ “สัมมาทิฐิ” เป็นทางแห่งทางพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงคือเห็นว่าผลทุกอย่างในโลกเกิดแต่เหตุ ถ้าไม่ก่อเหตุก็ไม่เกิดผลถ้าเราสามารถจะดับที่ต้นเหตุได้ก็จะดับผลได้เช่นกัน เมื่อเรามีความเห็นชอบอย่างถูกต้องเที่ยงตรงแล้วเรื่องของการคิดหรือ “ดำริชอบ” จะมาเองเมื่อมีความคิดชอบแล้วก็จะส่งผลไปยังมรรคผลข้ออื่นๆ ให้ดีตาม อำนาจแห่งจิตหรือมโนกรรมนั้นมีตัวอย่างที่น่าสนใจในสมัยพุทธกาลจะเล่าให้ฟังอีกสักเรื่อง ในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุรูปหนึ่งเมื่อท่านมรณภาพลงแล้วก็จะมีพระอีกรูปหนึ่งนำจีวรไปใช้ แต่พระพุทธเจ้าทรงห้ามเอาไว้เสียก่อนและรับสั่งว่า พระภิกษุผู้เป็นเจ้าของจีวรนั้นได้กลับมาเกิดมาเป็นเล็นเกาะอยู่ที่จีวรที่ท่านได้ซักตากเอาไว้ เพราะจิตของท่านเมื่อกำลังจะมรณภาพลง (อาสันนกรรม) ผูกพันอยู่กับจีวรผืนนี้ที่เพิ่งจะได้มาและท่านชอบมาก หากพระภิกษุรูปใดได้นำจีวรนี้ไปใช้เล็นตัวนั้นก็จะโกรธเพราะท่านยังหวงอยู่ส่งผลให้เกิดบาปกรรมทางใจขึ้นอีกและท่านก็ไม่อาจจะไปเสวยผลแห่งกรรมดีที่ได้ทำไว้ได้ เพียงจิตที่ขุ่นเคืองแม้เพียงเล็กน้อยเช่นนี้ยังมีอานุภาพเช่นนี้พระพุทธองค์จึงสั่งสอนอยู่เสมอว่าให้ทำความดีละเว้นความชั่วและ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเย็นที่สุดในหลักธรรมคำสอนทั้งปวง นี่เองคือเหตุผลที่ว่าเหตุใดการเจริญภาวนาซักฟอกจิตให้สะอาดเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็เพราะใจมีอำนาจแรงเหนือทุกสิ่งนี่เองสัตว์ทั้งปวงจะไปสู่ภพใดก็เป็นเพราะจิตก่อนตายเป็นสุขหรือทุกข์ การเจริญภาวนานั้นเป็นหนทางไปสู่มรรคผลและนิพพานได้เพราะการที่จิตสะอาดจนหมดกิเลสหมดความต้องการทั้งหลายแล้วย่อมไม่เหลืออะไรติดเกาะในจิต จิตก็ว่างเปล่าไม่อาจกลับไปเกิดใหม่ได้อีกหลุดพ้นไปโดยปริยาย หากลำพังเพียงแค่การทำทานหรือรักษาศีลนั้นยังไม่มีบุญบารมีที่มากพอที่จะกำจัดกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง พระพุทธองค์กล่าวเอาไว้ว่า แม้จะรักษาศีล 227 ข้อให้ไม่ด่างพร้อยถึง 100 ปีก็สู้การทำสมาธิภาวนาเพียงแค่ชั่วไก่กระพือปีกหรือช้างกระดิกหูไม่ได้” การเจริญภาวนานั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. การทำสมาธิด้วยสมถะภาวนา การทำสมาธิแบบสมถะภาวนาคือ การกำหนดใจให้นิ่งกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เป็นอารมณ์เดียว ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตามขอให้เพียงแต่ใจอยู่นิ่งไม่วอกแวกก็คือเป็นสมาธิ ถ้าเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและคนไทยเราคุ้นเคยที่สุดก็คือ “การไหว้พระสวดมนต์” การกำหนดจิตด้วยการสวดมนต์นี้จะทำให้จิตนิ่งอยู่ที่บทสวดก็เรียกได้ว่าเป็นการทำสมาธิระดับต้นขั้นที่หนึ่ง (ขณิกสมาธิ) วิธีการทำสมาธิอย่างง่ายๆ ทำอย่างไร? เริ่มต้นด้วยการนั่งขัดสมาธิตัวตรงแบบไม่ตรงเกร็งร่างกาย […]