องค์ประกอบที่ทำให้ไข่มุกมีสีสรรค์ต่างกันคือ พันธ์ของหอย นอกจากพันธ์หอยมุกเเล้ว ในการเลี้ยงต้องมีอุณหภูมิอุ่นพอดี, ความสดสะอาดของน้ำทะเลที่ไร้มลภาวะ, ระบบนิเวศน์ เเพลงตอน เเละสารอาหารจากใต้ทอ้งทะเลก็มีผลทำให้ หอยมุกผลิดสีไข่มุกได้หลายหลายเฉดสีค่ะ รูปทั้งหมดเปรียบเทียบกับการใช้เเฟรชเเละเเสงธรรมชาติค่ะ ไข่มุกสีทอง เเสงธรรมชาติ ไข่มุกสีทอง เเสงเเฟรช (gold or silver lip pearl oyster) หอยมุกขอบสีเงินจะผลิตไข่มุกสีขาว เเละสีเงิน ส่วนหอยมุกขอบสีทองจะผลิตไข่มุกสีทอง ไข่มุกสีเทาเเละดำ เเสงธรรมชาติวันฝนตก ^ […]
Archive | ไข่มุก เสริมดวงผู้หญิง
RSS feed for this sectionไข่มุกเซาท์ซี ไข่มุกทะเลใต้ จาก ออสเตรเลีย
ไข่มุกเซาท์ซี หรือไข่มุกทะเลใต้จากประเทศออสเตรเลีย ขึ้นชื่อว่าเป็นไข่มุกที่สวยงามและ ชั้นดีที่สุด แห่งหนึ่งของโลก สังเกตุง่ายที่สุดคือ ขนาดที่ใหญ่กว่า ผู้หญิงเเถวหน้าของโลกส่วนมากนิยมใส่ไข่มุก เพราะสวยโดดเด่นเเละยิ่งทำให้ดูมีสง่าราศรี น่ายำเกรง ภูมิฐาน ไม่ดูโอเว่อร์จนน่าเกลียด เเละยังมีความเชื่อการเสริมดวง เชื่อว่า ไข่มุกสีทอง เสริมด้านความมั่งคั่ง มั่นคง ่ไข่มุกสีขาว เสริมด้านเสน่ห์เมตตา ผู้ใหญ่รักสนับสนุน ไข่มุกสีเงินวาว เสริมด้านการเงิน การค้า เงินทองไหลมาเทมา ไข่มุกสีดำ บูชาราหู ไล่เคราะห์ รอรับโชคใหญ่เเละเสริมอำนาจ สาเหตุที่ทำให้ไ่ข่มุกเซาท์ซีมีราคาสูงมากคือ หอยมุกที่มีขนาดใหญ่เป็นพันธ์หายาก , สภาพในการเลี้ยงต้องมีอุณหภูมิอุ่นพอดี, ความสดสะอาดของน้ำทะเลที่ไร้มลภาวะ, ระบบนิเวศน์ เเพลงตอน เเละสารอาหารจากใต้ทอ้งทะเลที่อุดมสมบูรณ์, สิ่งต่างๆเหล่านี้ละค่ะ ที่ทำให้ไข่มุกเซาท์ซีมีขนาดเเละความหนาของชั้นไข่มุก Nacre เฉลี่ย 2 – 6 มม. ซึ่งไข่มุกอื่นๆหนาเพียง 0.35 – 0.7 มม. ประมาณ 8 – 10เท่าตัวเลยค่ะ !!!! ขนาดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8 […]
มุกเเท้ หรือมุกปลอม ดูยังไง
เคล็ดลับดู”มุกแท้” หรือ “มุกเทียม” 1 การรนด้วยไฟ ไข่มุกแท้จะมีความแข็งและความแวววาวที่เเตกต่างจากไข่มุกเทียม ซึ่งทำมาจากวัสดุที่ไม่มีค่า เช่น เม็ดพลาสติกหุ้มสีวาวๆหรือพวกสารที่ทำให้มันวาวเท่านั้น การใช้ความร้อนจากไฟเเชค รนผ่านไวๆ จึงพอจะตรวจสอบได้ว่าเเท้หรือเทียม เพราะถ้าเป็นมุกเทียมมันก็จะไหม้หลอม หลุดลอก เเต่ถ้าเป็นมุกเเท้ คราบเขม่าดำที่เกิดจากความร้อนจะเช็ดออกได้ค่ะ ต้องลองๆ 2 ส่องด้วยกล้องขยาย 10เท่า 10x Loupe การส่องด้วยกล้องส่องเพชรหรือ กล้องส่งอพระ ขยายให้เห็นผิวของมุกเป็นชั้นหนา ไม่เรียบ ลักษณะสีไม่สม่ำเสมอ จะมีสีและสีเหลือบ ไม่เสมอกัน เข้มและอ่อนต่างกันในแต่ละเม็ด 3 การถูด้วยฟัน วิธีนี้ง่ายมาก อุปกรณ์ระดับโปรเฟชชาเนล ก็คือ ฟันของเราเองนี่ละค่ นำเอาเม็ดมุกถูกที่ฟันหน้า (บริเวณหน้าฟัน หรือปลายฟันเหมือนในภาพก็ได้ค่ะ) ถ้าเป็นมุกเลี้ยงหรือมุกธรรมชาติจะมีลักษณะฝืด แต่ถ้าเป็นมุกเทียมจะลื่นๆค่ะ ยิ่งถ้าใส่ไปไม่นานมันก็จะลอกเป็นคลาบๆเหมือนสีเเล๊คเกอร์ที่เคลือบหลุดค่ะ จริงๆใช้เม็ดมุก ขัดถูกกับมุกอีกเม็ดก็ได้ค่ะ (เง็ง..) ความรู้สึกก็เหมือนกันคือมุกเเท้มันจะฝืดๆค่ะ ความรู้สึกคล้ายๆกับ เปลือกหอยเสียดสีกันตอนเราล้างหอยเเมลภู่หรือหอยเเครงอะค่ะ ^ ^ ห้าม อมนะค่ะ รสชาติไม่ได้เเยกว่า เป็นมุกน้ำเค็มหรือน้ำจืด เเม้ว่ามันอาจจะเค็มๆนิดนึง 55 54 […]
ไข่มุก ชนิดต่างๆ
ไข่มุก ไข่มุกเป็นอินทรีย์สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและจัดเป็นรัตนชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งจะแตกต่างจากรัตนชาติชนิดอื่นๆ เนื่องจากไข่มุกเกิดจากหอยมุกสัตว์ทะเลตามธรรมชาติใต้ผืนน้ำ แต่รัตนชาติอื่นๆ เกิดจากหินและแร่ธาตุที่มารวมตัวกันใต้ผืนดิน… มุกแท้มีอยู่ สองชนิดค่ะ คือ มุกธรรมชาติ เเละมุกเลี้ยง มุกธรรมชาติ คือมุกที่เกิดจาก ธรรมชาติล้วนๆ มุกธรรมชาติเกิดจากวัตถุภายนอกพลัดตกลงไปในตัวหอย เกิดการหลั่งสารมุกโดยเซลล์บุผิวของเนื้อแมนเทิล ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการสร้างเปลือกหอย ดึงสารประกอบแคลเซียมจากน้ำมาสร้างเป็นชั้นเปลือกขึ้น ชั้นมุกประกอบด้วยผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เรียกว่า อะราโกไนท์ รวมกับเมือกและสารจำพวกคอนชิโอลิน แทรกอยู่ทำให้ดูมีประกายรุ้งแวววาว มุกชนิดนี้หายากมารในธรรมชาติและมีรูปร่างแตกต่างกัน ที่ออสเตรเลียที่เเม่มดไอรีนนอยู่ มีรายงานว่า ปีที่แล้วหอยมุก 400,000 ตัว พบมุกธรรมชาติเพียง 3 ตัวเท่านั้น !!! เเละเพราะไม่สามารถควบคุมรูปทรงได้ ราคาแพง ทำให้มีมนุษย์คิดค้นกระบวนการเกิดมุกในตัวหอยขึ้น จึงเกิดเป็นมุกเลี้ยงในเวลาต่อมา ไข่มุกเลี้ยง(Cultured Pearls) เเบ่ง เป็น มุกน้ำเค็ม เเละมุกน้ำจืด ทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด มีกรรมวิธีการเลี้ยงคล้ายคลึงกันโดยใช้วัตถุก้อนกลมเล็กๆ เช่น เม็ดเปลือกหอยหรือเม็ดพลาสติกเรียก นิวเคลียส์(Nucleus) ใส่เข้าไปในกลีบกล้ามเนื้อของหอยมุก ทิ้งไว้ระยะหนึ่งในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด และไม่มีมลภาวะเป็นพิษ หอยมุกจะเกิดความระคายเคือง สร้างสารที่เป็นเมือกซึ่งเป็นพวกแคลเซียมคาร์บอเนตขึ้นมาเคลือบวัตถุที่ใส่ลงไปเป็นชั้นๆ จนได้ไข่มุกเลี้ยง ใช้เวลาประมาณ 6เดือน – 3 ปี […]